วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะพระนคร ปัจจุบันเป็นพื้นที่ตำบลคลองสวนพลู อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดเด่นของวัดได้แก่เจดีย์องค์ใหญ่ที่เชื่อกันว่า ได้รับการปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ภายในได้มีการค้นพบชัยมงคลคาถาบรรจุอยู่ ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชัยมงคล พระประธานที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของวัด นอกจากนี้แล้ว ภายในวัดยังเป็นที่ประดิษฐานศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 อีกด้วยสมัยกรุงศรีอยุธยา
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นเมื่อไร แต่คาดว่าประมาณ พ.ศ. 2443 เป็นที่พำนักของพระภิกษุคณะป่าแก้ว ซึ่งมี สมเด็จพระวันรัตน์เป็นประธานสงฆ์ จึงได้ชื่อว่า วัดเจ้าพระยาไทยคณะป่าแก้ว
สันนิษฐานว่าเป็นที่กระทำการเสี่ยงเทียน ในคราวก่อนที่พระเฑียรราชาจะทรงปราบดาภิเษก ยึดอำนาจจากขุนวรวงศาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์
ในรัชกาลของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นที่พำนักของ สมเด็จพระวันรัตน์ ผู้เป็นพระเถระที่สมเด็จพระนเรศวรทรงให้ความเคารพ ในคราวที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ชนะพระมหาอุปราชของหงสาวดี สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระพิโรธต่อบรรดาแม่ทัพนายกองที่ตามทัพไม่ทัน ทรงดำริจะลงพระราชอาญาประหารชีวิต แต่สมเด็จพระวันรัตน์ได้ทูลขอพระราชทานชีวิตของแม่ทัพนายกองเหล่านั้นไว้ โดยยกเอาพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรอยู่ใต้ต้นโพธิ์ ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ต้องผจญมารอยู่โดยลำพัง เปรียบเสมือนกับสมเด็จพระนเรศวรที่ต้องทรงกระทำยุทธหัตถีโดยลำพัง และได้ทูลแนะนำให้ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่ขึ้นแทนการประหารชีวิต สมเด็จพระนเรศวรทรงเห็นด้วยและทรงให้สร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้น ชื่อว่าพระเจดีย์ชัยมงคลประมาณ พ.ศ. 2135 มีความสูง 1 เส้น 1 วา เป็นเจดีย์ ที่สูงที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยามาจนทุกวันนี้
วัดป่าแก้ว หรือวัดเจ้าไท ต้องร้างลงเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2309 หงสาวดีได้ยกพลมาประชิดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาตรมรินทร์โปรดเกล้า ให้ยกทัพเรือออกจากพระนคร ไปตั้งอยู่ที่วัดป่าแก้ว แต่ทัพเรือสยามเสียทีข้าศึก พระยาเพชรบุรีถูกสังหาร กองทัพหงสาวดีบางส่วนได้ยึดเอาวัดป่าแก้ว หรือวัดเจ้าไท เป็นฐานปฏิบัติการ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกใน พ.ศ. 2310 วัดแห่งนี้จึงได้ร้างลง

[แก้] ยุคฟื้นฟู

หลังจากที่วัดใหญ่ หรือ วัดป่าแก้ว หรือ วัดเจ้าไท ได้ร้างลงกว่า 400 ปี ได้มีพระภิกษุ สามเณร แม่ชี กลุ่มหนึ่ง โดยการนำของพระฉลวย สุธมฺโมได้เข้ามาหักร้างถางพงที่รกเรื้อปกปิดอารามอันเก่าแก่แห่งนี้เพื่อเป็นที่ปฏิบัติธรรมได้ประมาณ 4 ปี ท่านต้องการออกจาริกอีกครั้งจึงได้ไปนิมนต์พระครูภาวนาพิริยคุณ เจ้าอาวาส วัดยม อำเภอบางบาล ให้มาดูแลวัดใหญ่ชัยมงคลต่อ
พระครูภาวนาพิริยคุณ (เปลื้อง วิสฏฺโฐ) ได้นำคณะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และแม่ชี หักร้างถางพง ฟื้นฟูวัดแห่งนี้จนได้รับการยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดราษฎร์ที่มีพระภิกษุจำพรรษา ในปี พ.ศ. 2500 โดยได้ชื่อว่าวัดใหญ่ชัยมงคล ส่วนพระครูภาวนาพิริยคุณ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูภาวนารังสี

[แก้] ยุคปัจจุบัน

หลังจากที่พระครูภาวนารังสีได้มรณภาพในปี พ.ศ. 2536 พระปลัดแก่น ปุญฺญสมฺปนฺโน หรือปัจจุบันเป็นพระครูพิสุทธิ์บุญสาร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส และได้ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร และแม่ชี พัฒนาวัดใหญ่ชัยมงคล จนได้รับการยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ,วัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น, และสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแห่งที่ 3 ตามลำดับ

ช้างสามเศียร

ช้างเอราวัณ ในเรื่องรามายณะ และ ความเชื่อของศาสนาฮินดู กล่าวถึงพระอินทร์มีร่างสีเขียว มีพาหนะเป็นช้าง 3 เชือก เชือกหนึ่งพระศิวะเป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า เอราวัณ เชือกหนึ่งพระพรหมป็นผู้ประทานให้ชื่อว่า คีรีเมขล์ไตรดายุค และอีกเชือกหนึ่งพระวิษณุเป็นผู้ ประทานให้ชื่อว่า เอกทันต์ ช้างเอราวัณเป็นช้างที่มีพละกำลังมากที่สุดในหมู่ ช้างทั้ง 3 เชือก และเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ของพระอินทร์ เชื่อกันว่าช้างเชือกนี้เป็นเทพบุตรองค์หนึ่ง เมื่อพระอินทร์ต้องการจะเสด็จ ไปไหนเอราวัณเทพบุตร ก็จะแปลงกายเป็นช้างเผือก ขนาดสูงกว่าภูเขาเอเวอร์เรสต์ มี 33 เศียร แต่ละเศียรมีงา 7 งา งาแต่ละงายาวถึง 4 ล้านวา
งาแต่ละงามีสระบัว 7 สระ แต่ละสระมีดอกบัว 7 ดอก แต่ละดอกมีกลีบ 7 กลีบ มี 7 เกสร แต่ละเกสรมีปราสาทอยู่ 7 หลัง ปราสาทแต่ละหลังมี 7 ชั้น แต่ละชั้นมี 7 ห้อง แต่ละห้องมี 7 บัลลังค์ แต่ละบัลลังค์มีเทพธิดาสถิต 7 องค์ เทพธิดาแต่ละองค์มีบริวาร องค์ละ 7 นาง เทพธิดาบริวารแต่ ละนางมีนางทาสีนางละ 7 ทาสี รวมทั้งนางเทพอัปสรทั้งหมดประ มาณ 190,248,433 นาง เทพธิดา บริวารรวมกันทั้งหมดประมาณ 13,331,669,031 นาง เศียรทั้ง 33 ของช้างเอราวัณมีอุเปนทเทพยดา สถิตเศียรละ 1 องค์ โดยปกติศิลปินไทยมักจะทำช้าง เอราวัณ เป็นช้าง 3 เศียร

ตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง

ตลาดน้ำบางผึ้ง เป็นอีกสถานที่หนึ่งที่จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตำบลบางน้ำผึ้ง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ  ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยความร่วมมือของชาวบ้านร่วมกับผู้นำท้องถิ่น  และ อบต.บางน้ำผึ้ง  เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และสนับสนุนให้ชาวบ้านมีรายได้จากการนำผลผลิตในท้องถิ่นของตนเองมาจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้และก่อให้เกิดการสร้างงานภายในชุมชน  ส่งผลทำให้ชุมชนเข้มแข็งมากขึ้นจะมีเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ เริ่มเปิดตลาดประมาณแปดโมงเช้าเป็นต้นไปจนถึงเย็น ๆ เป็นตลาดน้ำที่ใกล้กรุงเทพ ซึ่งคุณจะเห็นวิถีชีวิตของชาวบ้านริมคลอง
พ่อค้าแม่ค้าหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ซึ่งถือว่าเป็นตลาดน้ำเพื่อสุขภาพอีกแห่งหนึ่ง เพราะไม่ว่าใครได้มาเที่ยวที่ี่ตลาดน้ำบางผึ้ง นอกจากจะได้สัมผัสวิธีชีวิตริมน้ำของชาวพระประแดงแล้ว ก็ยังได้สัมผัสกับกิจกรรมทั้งในเรื่องของสุขภาพกาย และสุขภาพใจอีกด้วย เพราะว่าพ่อค้า แม่ค้า ที่นี่นอกจากจะเอาใจใส่เรื่องของคุณภาพของสินค้าแล้ว ก็ยังไม่ลืมที่จะใส่ภูมิปัญญาไทยๆ อย่างอาทิ สมุนไพรลงไปในสินค้า เมื่อบวกกับมิตรจิต มิตรใจ โอมอ้อมอารีของคนในชุมชนตลาดน้ำบางน้ำผึ้ง ก็ถือเป็นเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของตลาดน้ำแห่งนี้
  ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งจะจัดเป็นซุ้มให้มีทางเดินยาวกว่า 2 กิโลเมตร ขนานไปกับคลองซอยสายเล็ก ๆ ที่แตกแขนงจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามาในพื้นที่ที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน จัดจำหน่ายต้นไม้นานาพันธุ์ ปลาสวยงามหลากชนิด ก่อนมาที่ตลาดน้ำแห่งนี้ทำท้องให้ว่างไว้ดีที่สุด เพราะว่าอาหารการกินที่นี่หลากหลายมาก เช่น ก๋วยจั๊บ กระเพาะปลา
รังนก ก๋วยเตี๋ยว และยังมีอาหารที่เราไม่ค่อยจะพบกันบ่อยนักแต่ว่าอย่าพึ่งทานให้อิ่มทีเดียวเพราะว่ายังมีอาหารที่ไม่ได้ขายในท้องตลาดทั่วไปอีกมาก ไม่ว่าจะเป็น ขนมครกหอยทอด ทอดมันปลา หมึกไข่เสียบไม้ห่อด้วยใบตอง แจงรอน ห่อหมกู ลูกชิ้นโบราณมีทั้งไส้กุ้ง หมู เผือก แครอท หน้าตาไม่ค่อยคุ้นเท่าซักเท่าไหร่นัก หวานพื้นเมืองฝีมือ ชาวบ้านเช่น ขนมถ้วย ขนมจาก กล้วยแขก ม้าฮ่อ ขนมตระกูลทอง กาละแมกวน ฝอยเงินที่ใช้ไข่ขาวต้มในน้ำเชื่อมรสหวาน
ชุ่มคอ หมี่กรอบโบราณ ฯลฯ แต่ว่าอาหารยังไม่หมดเท่านี้ส่วนที่เหลือคงต้องไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง

และยังมีและผลิตผลของชาวบ้านเช่น มะพร้าวอ่อน มะม่วง น้ำดอกไม้ กล้วยหอม ชมพู่มะเหมี่ยว นอกจากนี้ใน
ตลาดน้ำบางน้ำผึ้งศูนย์รวมสินค้า OTOP ที่สร้างสรรค์จากคนในชุมชนบางน้ำผึ้ง และตำบลใกล้เคียงในจังหวัดสมุทรปราการ เช่น ดอกไม้เกล็ดปลาบ้านธูปสมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากทะเลอย่างกุ้งแห้ง กะปิ หอยดอง ภาพประดิษฐ์์จากรกมะพร้าว ของตกแต่งบ้าน – ดอกหญ้าหลากสี,โมบายล์ ลูกตีนเป็ดรูปร่างแปลกตา ใครจะนั่งชมบรรยากาศตลาดริมน้ำ พร้อมทั้งรับประทานอาหารอร่อย ๆ ที่มีให้เลือกทั้งก๋วยเตี๋ยวหมู เย็นตาโฟบะหมี่หมูแดง ราดหน้า กระเพาะปลา ข้าวตู หมี่กรอบ ข้าวหน้าต่าง ๆ ขนมจีน น้ำยา น้ำพริกหรือจะเลือกผสมกับแกง แกล้มกับผักสดผักดอง แม่ค้าพ่อขายจะลอยลำเรือ พร้อมรับ รายการอาหารจาก นักท่องเที่ยว ซึ่งจะมาเป็นครอบครัวหรือหมู่คณะ จับจองเก้าอี้ไม้ตัวเตี้ย นั่งพูดคุยและชมบรรยากาศตลาดริมน้ำและสวนเกษตร ที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ หรือเช่าเรือพายชมสวนและตลาดน้ำ ถ้าพายเป็นจะพายเองก็ได้ เสียค่าเช่าชั่วโมง  นั่งเรือลัดเลาะชมพื้นที่สีเขียว2 ฝั่งคลอง มีทั้งป่าจาก สวนมะม่วง และมะพร้าว มีบริการจักรยานให้เช่าด้วยและใครที่เดินชมตลาดจนเมื่อยจะแวะพักนวดตัว นวดเท้า ทางชุมชนก็จัดหมอนวดมือทองไว้บริการนักท่องเที่ยว รับรอง หรือจะนั่งพักผ่อนคลายอารมณ์ในสวนที่จัดขึ้นพร้อมมีดนตรีให้ทุกท่านได้ฟังกันด้วย หากสนใจจะเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนชาวสวน จะพักค้างคืนที่ โฮมสเตย์บางน้ำผึ้ง เป็นบ้านพักที่ปลูกอาศัยติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา บางหลังอยู่ติดริม
คลองบางน้ำผึ้งสามารถกางเต็นท์นอนได้ มีบ้านไทยโบราณอายุกว่า 100 ปี เลือกพักตามความชอบและเหมาะสมกับนักท่องเที่ยว